ยินดีตอนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ สุพัตรา สุนิพันธ์ ปุ๊ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หมู่ 2 ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

  

          สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน...ยินดีตอนรับเข้าสู่บล็อกของ  * _* นางสาวสุพัตรา สุนิพันธ์ *_* บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู ภาคเรียนที่ 2/2556 (ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการเข้าชมนะค่ะ)

____________________________________________________________

คำอธิบายรายวิชา

           ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้


วัตถุประสงค์ในรายวิชา


          เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
                   1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
                   2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
                   3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
                   4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
                   5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
                   6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
                   7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้

                   8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
                   9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
                   10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
                   11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

                   12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
                   13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
                   14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
                   15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
______________________________________________________________________

เนื้อหาบทเรียน


        หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

        หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

        หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
        หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
        หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
        หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
        หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
______________________________________________________________________

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
        วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
        เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
        เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(Integrity)

 กิจกรรมการเรียนการสอน


         1. การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (Traditional classroom)
         2.  การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
         3. การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
         4. การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
         5. การสรุปเป็นรายงาน

         6. การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
_____________________________________________________________________

ความซื่อสัตย์(Integrity) 

         เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ (competency) อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
         การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้


ระดับความซื่อสัตย์

         1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
                - ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิด
                - หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
                - ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
                - ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
          2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
                - ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
                - ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
                - ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
          3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
                 - รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
                 - ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
                 - ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
                 - ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
           4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
                 - ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
                 - ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
                 - ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
                 - ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
           5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
                 - แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
                 - ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
                 - นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใครทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

_____________________________________________________________



กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึก"ความซื่อสัตย์"

           1. นำเสนอตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชินหรือเกิดความสงสัย และสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมตรงกันข้ามจะได้รับผลอย่างไร
           2. ยกย่องสรรเสริญให้เป็นขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
           3. แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดีไม่มีอคติเมื่อผู้เรียนประพฤติไม่ถูกต้องเพื่อจะได้ปรับตนใหม่ให้เป็นไปตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
           4. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง เช่น พูดคุย สัมภาษณ์บุคคลตัวอย่างในท้องถิ่น
           5. ให้เด็กหรือผู้เรียนเรียนรู้ตามตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ เช่น นิทาน ละคร ภาพยนตร์ สารคดี ชีวิตจริงของบุคคลที่ประพฤติตนอย่างซื่อสัตย์สุจริต แล้ววิเคราะห์และสรุปผลด้วยตนเอง ให้ทำหลายๆ ครั้งอย่างสม่ำเสมอในสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
           6. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน    หลาย ๆ ครั้ง ทั้งการวิเคราะห์เป็นกลุ่มและการวิเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเชิงเหตุและผลทั้งด้านดีและไม่ดี และทั้งที่หาข้อยุติหรืออาจยังหาข้อยุติไม่ได้
           7. ให้ได้แสดงเจตนารมณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมที่จะประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรมจริยธรรม เช่น การมีคติพจน์ประจำใจ การสร้างสัญลักษณ์ของพฤติกรรม ฯลฯ

______________________________________________________________________

กิจกรรมแนะแนวทางการปฏิบัติตนในการเรียนรู้

          1. ความซื่อสัตย์คืออะไร 
          2. ความซื่อสัตย์ตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร(I)
          3. ให้วิเคราะห์ "เปรียบเทียบ" กับคำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียง(T) 
          4. วิเคราะห์ "ประโยชน์และคุณค่า" ของความซื่อสัตย์ (T) 
          5. ศึกษา "ความคิดเห็น" เกี่ยวกับความซื่อสัตย์โดยการสัมภาษณ์ 
                    - ผู้ปกครอง/ญาติ 
                    - อาจารย์ 
                    - เพื่อต่างทีม 
                    - บุคคลทั่วไป 
          6. ค้นคว้า "งานวิจัย" เกี่ยวกับความซื่อสัตย์(ระบุเครื่องมือและกิจกรรม)(T) 
          7. ศึกษา "พฤติกรรม" ความซื่อสัตย์จากสื่อ ICT (วิเคราะห์ปัญหา/แนวทางการแก้ไข )
          8. ศึกษา "เนื้อหาสาระ" ความซื่อสัตย์จากเพลงเป็นรายบุคคล(T) 
          9. ศึกษา "เนื้อหาสาระ"ความซื่อสัตย์จากวรรณกรรม(I) 
          10. การเลือก "ประพฤติตน"เกี่ยวกับความซื่อสัตย์เป็นรายบุคคล (I) 
          11. การเลือก "ประพฤติตน" เกี่ยวกับความซื่อสัตย์เป็นทีม (T) 
          12. การสร้าง "เครื่องมือ" วัดความซื่อสัตย์รายบุคคลและทีม(T) 

_____________________________________________________________________

ความซื่อสัตย์

          ความซื่ออสัตย์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Honest หรือ integrity เป็นพฤติกรรมที่จริงใจตรงไปตรงมาไม่อคติไม่ลำเอียง เป็นความประพฤติที่สามารถนำมนุษย์และสังคมไปสู่ความสุขสงบได้
ประเภทของความซื่อสัตย์
 


          ความซื่อสัตย์แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น

                 1. ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องรักษาความซื่อสัตย์ประเภทนี้ไว้คือ
                        - ครู อาจารย์ เป็นบุคคลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนสมบูรณ์และทุ่มเทความอุตสาหะอย่างเต็มที่ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เป็นศิษย์ นักเรียน และผู้ที่สนใจในการศึกษา จะต้องทำหน้าที่ใน
การอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติที่ดีและถูกต้อง ปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์และคน
ทั่วไป จะปิดบังหรือบิดเบือนความรู้ไม่ได้ เพราะการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดขั้นมหันต์
 
                         - นักเรียน จำเป็นจะต้องมีความซื่อสัตย์ มีความซื่อตรง ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และแสวงหาวิชา
ความรู้ที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็จะต้องมีคุณธรรม มีศีลธรรม ไม่กระทำโดยออกนอกกรอบบัญญัติของ
ศาสนา

                2. ความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน เป็นการประกอบอาชีพการงานด้วยความซื่อตรง ตรงต่อเวลา ไม่บิดพลิ้ว หลีกเลี่ยง คดโกง ทุจริตในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ
                3. ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง บุคคลต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยดูแลรักษาสุขภาพให้มีความแข็งแรง กระปี้กระเปร่า มีความสุขทั้งกายและใจ ในหลายศาสนาได้บัญญัติข้อห้ามไม่ให้รับประทานอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกายไว้ เช่น สุรา ยา เสพติด ซากสัตว์ที่ตายเอง นอกจากนี้ยังสอนให้ซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่เป็น  กรรมสิทธิ์หรือผู้ที่อยู่ภายให้การรับผิดชอบด้วยการดูแลเอาใจใส่ เช่น ทรัพย์สิน ตระกูล สามี ภรรยา พ่อแม่ เป็นต้น

______________________________________________________________________